ปฏิกิริยา ของ เท็ตสึยะ ยามางามิ

ภายในประเทศญี่ปุ่น

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแพทย์นาระที่ซึ่งการเสียชีวิตของอาเบะได้รับการประกาศ

นายกรัฐมนตรีปัจจุบัน ฟูมิโอะ คิชิดะ เรียกการลอบสังหาร "การกระทำที่ให้อภัยไม่ได้" และ "การกระทำอันป่าเถื่อนอย่างขี้ขลาด"[132][133] โดยให้ความสำคัญว่าอาเบะถูกยิงขณะกล่าวปราศรัยหาเสียงเลือกตั้ง คิชิดะประณามการลอบสังหารว่าเป็นการโจมตีประชาธิปไตยของประเทศญี่ปุ่นและให้คำมั่นสัญญาว่าจะปกป้อง "การเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรมทุกวิถีทางที่ทำได้"[134]

ก่อนการเสียชีวิตของอาเบะจะได้รับการประกาศ ผู้ว่าราชการมหานครโตเกียว ยูริโกะ โคอิเกะ แถลงว่า "ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด การกระทำอันชั่วร้าย นั้นไม่สามารถให้อภัยได้โดยเด็ดขาด อีกทั้งยังเป็นการดูหมิ่นประชาธิปไตย[ของประเทศญี่ปุ่น]"[135] คาซูโอะ ชิอิ หัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์ญี่ปุ่นเรียกการลอบสังหาร "ป่าเถื่อน", การโจมตีเสรีภาพในการพูดและเป็นการกระทำการก่อการร้ายในโพสต์บนทวิตเตอร์[136] โทโมฮิโกะ ทานิงูจิ อดีตที่ปรึกษาของอาเบะ เปรียบเทียบการเสียชีวิตของเขากับการลอบสังหารจอห์น เอฟ. เคนเนดีในแง่ของผลประทบทางสังคมในประเทศญี่ปุ่น[137]

โทโมอากิ โอนิซูกะ หัวหน้าตำรวจจังหวัดนาระ ยอมรับการรักษาความปลอดภัยที่หละหลวมในงานกิจกรรมทางการเมืองซึ่งเป็นเหตุให้อาเบะเสียชีวิต และให้คำมั่นที่จะระบุและแก้ไขข้อผิดพลาด โอนิซูกะกล่าวว่า "มันเป็นสิ่งที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่ามีปัญหาเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยของอดีตนายกรัฐมนตรีอาเบะและจะระบุปัญหาและวางมาตรการอย่างเหมาะสมเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยเร่งด่วน"[138]

เครือข่ายทนายความต่อต้านการซื้อขายทางจิตวิญญาณแห่งชาติซึ่งก่อตั้งเพื่อช่วยเหลือผู้คนที่ถูกโบสถ์แห่งความสามัคคีบังคับให้บริจาคเงินและซื้อสินค้าราคาแพงโดยมิชอบ ได้จัดงานแถลงข่าวต่อการลอบสังหารอาเบะ หลังทนายความของสมาคมแสดงความเสียใจแก่อาเบะ พวกเขาชี้ให้เห็นว่าแต่ก่อนสมาคมไม่พอใจอาเบะจากการส่งข้อความแสดงความยินดีต่อโบสถ์แห่งความสามัคคี[139] สมาคมร้องขอไม่ให้นักการเมืองชาวญี่ปุ่นร่วมงานกิจกรรมหรือส่งข้อความแสดงความยินดีต่อโบสถ์แห่งความสามัคคีและกล่าวว่าเกือบ 30 ปี อาเบะและนักการเมืองชาวญี่ปุ่นคนอื่น ๆ ไม่ได้มีการวางมาตรการใด ๆ ต่อโบสถ์แห่งความสามัคคี[140][141][15]

ในวันที่ 11 กรกฎาคม คณะรัฐมนตรีของคิชิดะตัดสินใจมอบฐานันดรศักดิ์ผู้น้อยชั้นหนึ่ง (ญี่ปุ่น: 従一位; โรมาจิ: Ju Ichi'i) รวมถึงเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันสูงส่งยิ่งดอกเบญจมาศ ชั้นสังวาล มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม[142] ทำให้อาเบะเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีลำดับที่ 4 ตั้งแต่ยาซูฮิโระ นากาโซเนะ ที่ได้รับสังวาลภายใต้รัฐธรรมนูญปัจจุบัน[143][144][145]

นานาชาติ

เพื่อเป็นการตอบโต้ต่อการยิงและการเสียชีวิตของอาเบะ ตัวแทนจากหลากหลายประเทศรวมถึงผู้นำโลกทั้งอดีตและปัจจุบันแสดงความเสียใจ[146][147]

แอนโทนี แอลบานีส นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย กล่าวว่าภายใต้การนำของอาเบะ ประเทศญี่ปุ่นเป็น "หนึ่งในประเทศเอเชียที้มีความคิดเห็นพ้องตรงกันกับออสเตรเลียมากที่สุด" แอลบานีสยังกล่าวถึงผลงานนโยบายการต่างประเทศของอาเบะ โดยเพิ่มเติมว่า "ควอดและข้อตกลงความครอบคลุมและความก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนทางการค้าภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกเป็นผลพวงมาจากการความเป็นผู้นำทางการทูตของเขา" แอลบานีสกล่าวว่ามรดกของอาเบะ "ครอบคลุมทั่วโลก และลึกซึ้ง และเป็นประโยชน์ต่อออสเตรเลีย"[148] สถานที่ที่สำคัญในเมลเบิร์น, แอดิเลด, ซิดนีย์ และเพิร์ท เปิดไฟแสงสีแดงและขาว มีการลดธงครึ่งเสาในวันที่พิธีศพจัดขึ้น[149]

มีการประกาศวันไว้อาลัยแห่งชาติในประเทศบังกลาเทศ, ประเทศบราซิล, ประเทศอินเดีย, ประเทศเนปาล, ประเทศภูฏาน, ประเทศกัมพูชา, ประเทศคิวบา และประเทศศรีลังกา โดยทุกประเทศต่างลดธงครึ่งเสาในวันที่มีการประกาศให้เป็นวันไว้อาลัยแห่งชาติ ในบังกลาเทศ มีการกำหนดวันไว้อาลัยแห่งชาติในวันที่ 9 กรกฎาคม[150] ฌาอีร์ โบลโซนารู ประธานาธิบดีบราซิล กำหนดให้มีการไว้อาลัยเป็นระยะเวลา 3 วันในบราซิล ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรเชื้อสายญี่ปุ่นมากที่สุดนอกประเทศญี่ปุ่น[151] นเรนทระ โมที นายกรัฐมนตรีอินเดีย ประกาศว่าประเทศอินเดียจะกำหนดวันไว้อาลัยแห่งชาติเป็นวันที่ 9 กรกฎาคม ปฏิกิริยาของโมทีถูกมองว่าเป็นส่วนตัวอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับผู้นำโลกคนอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียกอดีตนายกรัฐมนตรีว่า "อาเบะ-ซัง" ในบล็อกแสดงความไว้อาลัยของเขา[152][153][154][155] รัฐบาลเนปาลกำหนดวันที่ 9 กรกฎาคม เป็นวันไว้อาลัยแห่งชาติและให้ธงต่าง ๆ ลดครึ่งเสา[156] ประเทศภูฏานกำหนดให้วันที่ 9 กรกฎาคมเป็นวันไว้อาลัยแห่งชาติโดยให้ธงลดลงครึ่งเสา[157] นายกรัฐมนตรีกัมพูชาประกาศให้วันที่ 10 กรกฎาคมเป็นวันไว้อาลัยแห่งชาติ, ให้ลดธงครึ่งเสาและกำหนดให้ปิดสถานบันเทิงในวันดังกล่าว[158][159] ประเทศคิวบาประกาศให้วันที่ 11 กรกฎาคม เป็นวันไว้อาลัยแห่งชาติโดยให้ธงต่าง ๆ ลดลงครึ่งเสา[160] ในวันที่ 12 กรกฎาคม ประเทศศรีลังกากำหนดให้เป็นวันไว้อาลัยแห่งชาติแห่งชาติโดยให้ธงต่าง ๆ ในอาคารภาครัฐลดลงครึ่งเสา[161] โดยที่ไม่มีการประกาศวันไว้อาลัยแห่งชาติแห่งชาติอย่างเป็นทางการในประเทศไทย รัฐบาลกำหนดให้ลดธงครึ่งเสาในวันที่ 8 กรกฎาคม และนายกรัฐมนตรีไทย ประยุทธ์ จันทร์โอชา เดินทางเยี่ยมสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยเพื่อแสดงความเคารพด้วยตนเอง[162][163]

ประธานาธิบดีสหรัฐ โจ ไบเดน สั่งให้ธงชาติต่าง ๆ ในสหรัฐลดลงครึ่งเสาจนถึงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2565[164][165] และเข้าเยี่ยมสถานเอกอัครราชญี่ปุ่นเพื่อลงนามในหนังสือแสดงความอาลัย[166] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในระหว่างกำลังเดินทางเพื่อเข้าร่วม การประชุมสุดยอดจี20 ไบเดนให้ แอนโทนี บลิงเกน เดินทางเยือนนอกกำหนดการไปโตเกียวและพบกับนายกรัฐมนตรีคิชิดะเพื่อแสดงความอาลัยด้วยตนเอง จากนั้นแสดงจดหมายที่ไบเดนเขียนให้แก่ครอบครัวอาเบะ[167][168][166][169] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เจเน็ต เยลเลน ยกเลิกการเดินทางเยี่ยมท่าเรือโยโกฮามะซึ่งเป็นกำหนดการก่อนการลอบสังหารอาเบะระหว่างการเดินทางเยือนประเทศญี่ปุ่น[170] ในวันที่ 11 กรกฎาคม เยลเลนพร้อมด้วยเอกอัครราชทูตประจำประเทศญี่ปุ่น ราห์ม เอมานูเอล เข้าร่วมการเฝ้าศพที่วัดโซโจจิ ขณะที่ในสหรัฐ สมาชิกจากทั้งพรรคเดโมแครตและพรรคริพับลิกันร่วมกันแสดงความอาลัยแก่อาเบะ[145][169][171]

คณะมนตรียุโรป (European Council) เผยแพร่ภาพและคลังวิดีโอในความทรงจำของอาเบะ ปรากฏภาพอดีตนายกรัฐมนตรีแสดงปฏิสัมพันธ์ทางการทูตกับผู้นำต่าง ๆ ในสหภาพยุโรป[172]

ชาติผู้นำควอดอย่างประเทศออสเตรเลีย ประเทศอินเดีย และสหรัฐ เผยแพร่แถลงการณ์ร่วมกล่าวว่าองค์กรจะทวีคูณงานของพวกเขามุ่งสู่ "ภูมิภาคที่มีความสันติภาพและความรุ่งเรือง" เพื่อเป็นเกียรติของอาเบะ ทำเนียบขาวแถลงว่าอาเบะเป็นผู้ที่ีบทบาทสำคัญในการร่วมก่อตั้งหุ้นส่วนควอดอย่างเป็นรูปธรรมและได้ทำงานอย่างไม่เหน็ดเหนื่อยเพื่อก้าวหน้าไปยังวิสัยทัศน์ร่วมกันคืออินโด-แปซิฟิกที่เปิดกว้างและเสรี[173] ในแถลงการณ์อย่างเป็นทางการว่าด้วยการลอบสังหารนายกรัฐมนตรีแคนาดา จัสติน ทรูโด กล่าวแสดงการสนับสนุนที่ให้ไว้โดยควอด[174]

ประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ไช่ อิงเหวิน ประกาศว่าจะกำหนดวันไว้อาลัยแห่งชาติในวันที่ 11 กรกฎาคม โดยธงชาติไต้หวันจะลดลงครึ่งเสา[175] ไทเป 101 ส่องแสงเป็นข้อความแสดงความอาลัยต่าง ๆ ต่อการเสียชีวิตของอาเบะ[176][177] ในวันที่ 11 กรกฎาคม ไหล ชิง-เท รองประธานาธิบดีไต้หวัน เยี่ยมที่พักของอาเบะในฐานะผู้แทนพิเศษต่อประธานาธิบดีไช่เพื่อแสดงความอาลัยร่วมกับ แฟรงก์ เซ ผู้แทนไต้หวันต่อประเทศญี่ปุ่น ไหลเป็นเจ้าหน้าที่รัฐชาวไต้หวันซึ่งมีตำแหน่งสูงที่สุดที่จะเยือนประเทศญี่ปุ่นในรอบ 50 ปีหลังได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงต่อความสัมพันธ์ทางการทูตกับไต้หวันใน พ.ศ. 2515 เพื่อประโยชน์ของประเทศจีน[178]